บุคคลทั่วไป

สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย

 
ปีการศึกษา :
ส่วนที่ โครงร่างองค์กร
หมายเลข รายการเอกสาร
SUMMARY บทสรุปผู้บริหาร
OP TSU โครงร่างองค์กร มหาวิทยาลัยทักษิณ
ส่วนที่ ผลการดำเนินงานและผลการประเมิน
ประเด็นประเมินคุณภาพการศึกษา จำนวนตัวบ่งชี้ น้ำหนัก
(ร้อยละ)
คะแนน
ค่าเป้าหมาย
ผลประเมินตนเอง ผลประเมินกรรมการ คะแนนถ่วงน้ำหนัก
คะแนน คะแนน ประเมินตนเอง กรรมการประเมิน
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนที่ 1 ระบบประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA 17 70 3 2.88 2.88 2.02 2.02
คะแนน 17 70 3* 2.88* 2.88* 2.02 2.02
ส่วนที่ 2 การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ.2558-2567
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตคุณภาพระดับสากล และความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระดับนานาชาติ 6 10.59 4.67 2.6 0.28
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนากำลังคนคุณภาพรองรับความต้องการของพื้นที่ ประเทศ และการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก 1 1.76 5 5 0.09
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างสรรค์ผลงานการวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการเพื่อการรับใช้ ชี้นำการพัฒนาให้กับสังคม และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในอนาคต 3 5.29 3.67 5 0.26
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดบริการวิชาการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และการพัฒนาในภาคใต้ตอนล่าง และประเทศให้แข่งขันได้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง 1 1.76 5 5 0.09
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความเป็นเลิศด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งปัญญาและสันติสุขที่ยั่งยืน 3 5.29 5 3.67 0.19
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สู่มหาวิทยาลัยแห่งความสุข มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล พึ่งพาตนเองได้ 3 5.29 5 5 0.26
คะแนนส่วนที่ 2 17 30 4.65* 3.93* * 1.18 0
คะแนนทั้งหมด 32 100 3.82* 3.38* 2.88* 3.2 2.02
 

หมายเหตุ * คำนวณคะแนนจากตัวบ่งชี้
** ไม่นำมาคำนวณ

ส่วนที่ สรุปผลการประเมินและทิศทางการพัฒนา

ส่วนที่ 1 องค์ประกอบคุณภาพ

ประเมินตนเอง
 
กรรมการประเมิน

Strengths (จุดแข็ง)

บทสรุปผู้บริหาร รายงานฉบับนี้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน (ระดับสถาบัน) ได้ทำการประเมินระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคม 2559 จากเอกสารรายงานการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัยฯ ประจำปีการศึกษา 2558 ที่ใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (CUPT QA) ประกอบด้วย โครงร่างองค์กร ตัวบ่งชี้หลัก 13 ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้เลือก 4 ตัวบ่งชี้ ด้วยการวัดระดับคะแนนของระบบการดำเนินงานคุณภาพ 7 ระดับ โดยมีการตรวจยืนยันเอกสาร ณ สถานที่ดำเนินงาน การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารส่วนงาน คณาจารย์ บุคลากร นิสิต ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ใช้งานวิจัย และผู้ใช้งานบริการวิชาการ และการเยี่ยมชม ชุมชนที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นฐานการเรียนรู้ หน่วยงานและพื้นที่ปฏิบัติการต่างๆ วิทยาเขตพัทลุง ผลการประเมินในภาพรวมของมหาวิทยาลัยทักษิณ พบว่า มีระดับคะแนน 3 คือ มีระบบควบคุมการดำเนินงานและระบบทบทวนการดำเนินงานของตนเองเทียบกับค่าเป้าหมายต่างๆ แต่ยังต้องทบทวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย จาก 17 ตัวบ่งชี้ พบว่า 4 ตัวบ่งชี้ คือ การกำกับมาตรฐานหลักสูตร ข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลงานวิจัยหรองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ และ Green University ได้ระดับคะแนนเท่ากับ 2 ต้องเร่งทบทวนและกำหนดแนวทางพัฒนาระบบการดำเนินงานให้เกิดคุณภาพตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกันพบว่ามีตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ที่มีระบบการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและมีผลการดำเนินงานที่ดี (ระดับคะแนนเท่ากับ 4) ได้แก่ การบริการวิชาการแก่สังคม และร้อยละของรายได้อื่นของมหาวิทยาลัย ส่วนอีก 11 ตัวบ่งชี้ พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพรวม ได้ระดับคะแนนเท่ากับ 3 ซึ่งต้องมีการทบทวนระบบการทำงานและควบคุมคุณภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุไว้ในโครงร่างขององค์กร โดยคณะกรรมการฯ มีข้อเสนอที่สำคัญ ดังนี้ 1. การทบทวนผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานและผลลัพธ์ของพันธกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง 2. การทบทวนและวิเคราะห์องค์กรตามวิสัยทัศน์ การพัฒนาภาพลักษณ์ และการรับรู้ของสังคม 3. การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ตามพันธกิจต่างๆ ที่เชื่อมโยงตั้งแต่ ระดับหลักสูตร ส่วนงาน และมหาวิทยาลัย 4. ระบบในการกำกับมาตรฐานหลักสูตร ตามเงื่อนไขของกฎหมาย และกรอบกติกา ต่างๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ประเทศ และความเป็นสากล รวมถึงการทบทวนผลการจัดการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับความต้องการสังคม โครงร่างองค์กร P.1 ลักษณะขององค์กร Strengths (จุดแข็ง) - วิสัยทัศน์ Comprehensive University โดยมีเอกลักษณ์คือ “ใช้ชุมชนเป็นฐาน” ในการผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อรับใช้สังคมท้องถิ่นใต้ - หลักสูตรบูรณาการร่วมระหว่างคณะและหน่วยงาน มีผลการดำเนินการเป็นที่ประจักษ์ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม - แปลงอัตลักษณ์ “รับผิดชอบ รอบรู้ สู้งาน มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติ” โดยเน้นชุมชนไปสู่การปฏิบัติ - กำหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ (2558 – 2567) และมี Road Map ชัดเจน เพื่อนำองค์กรรองรับมาตรฐานการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานสากล TQA/ EdPEx/ AUN-QA/ QS/ UI Green Areas for Improvement (เรื่องที่สามารถปรับปรุงได้) - การปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดแผนงานและเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ลงสู่การปฏิบัติ - การวิเคราะห์/ประเมินผลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมในการจัดการศึกษาและบริการ เพื่อการพัฒนาพันธกิจตามวิสัยทัศน์ P.2 สภาวการณ์ขององค์กร Strengths (จุดแข็ง) - เป็นสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตกลุ่ม ข อันดับที่ 2 จาก 9 แห่งในสังกัด ทปอ. (จากเกณฑ์ สกอ. และ สมศ. ปี 2556) - ความคล่องตัวในการบริหารจัดการจากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ - การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างงานวิจัย งานบริการวิชาการ งานศิลปะและวัฒนธรรม ที่ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และปลูกฝังค่านิยมของมหาวิทยาลัยเชิงประจักษ์ Areas for Improvement (เรื่องที่สามารถปรับปรุงได้) - การวิเคราะห์ตำแหน่งขององค์กรตามวิสัยทัศน์ การพัฒนาภาพลักษณ์และการรับรู้ของสังคม - การจัดการองค์ความรู้จากพันธกิจต่างๆ เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดสู่ประชาคม เพื่อการแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลง - การศึกษาและวิเคราะห์เชิงลึกในการบริหารจัดการศึกษาที่วิทยาเขตพัทลุง ทั้งประเด็นจำนวนผู้เข้าศึกษา การคงอยู่และการสำเร็จการศึกษาของนิสิต รวมถึงการได้งา - การมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าสัมพันธ์ - สร้างความสมดุลระหว่างการเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมกับการแสวงหารายได้เพื่อพึ่งพาตนเอง

Areas for Improvement (เรื่องที่สามารถปรับปรุงได้)

-

ส่วนที่ 2 การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ.2558-2567

ประเมินตนเอง